การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชา ส14101 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิงห์สะอาด

THE DEVELOPMENT OF ANALYTICAL THINKING ABILITY USING MACRO MODEL WITH SOCIAL MEDIA IN SOC14101 SOCIAL STUDIES SUBJECT FOR GRADE 4 STUDENTS AT SINGSA-ARD SCHOOL

  • พรนภา แดนนานารถ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มณฑา ชุ่มสุคนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชา ส14101 สังคมศึกษา โดยให้จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 คน การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือสะท้อนผลการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของนักเรียนจำนวนทั้งหมด 15 คน และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.27 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 71.96 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 ของนักเรียนจำนวนทั้งหมด 15 คน และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.87 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.23 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

References

ดลชัย อินทรโกสุม และทรงภพ ขุนมธุรส. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนพร เลิศโพธาวัฒนา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 : MACRO MODEL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฟิกรี กีไร. (2561). การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ MACRO MODEL ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). การศึกษาโลกในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565. จาก https://www.eef.or.th/global-education/

หทัยทิพย์ สืบศรี. (2563). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO MODEL ร่วมกับแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.
Published
2023-07-03
How to Cite
แดนนานารถ, พรนภา; ชุ่มสุคนธ์, มณฑา. การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชา ส14101 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิงห์สะอาด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 81-89, july 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2201>. Date accessed: 19 may 2024.