การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

THE DEVELOPMENT OF THE GUIDELINES FOR THE ACADEMIC ADMINISTRATION IN THE EDUCATIONAL OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 2

  • ภาณุวัชร สุวรรณแสง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจําเป็นของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2)เพื่อออกแบบและประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 128 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้างานวิชาการในสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติเป็นเลิศ 3 แห่ง จำนวน 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ความต้องการจำเป็นของแนวทางการบริหารงานวิชาการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ประกอบด้วย 5 ด้าน 15 แนวทาง มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


This research aims to 1) study current conditions desirable conditions and priority needs index of academic administration in the educational opportunity expansion schools under the office of Roi Et Primary Educational Service Area 2. 2) design and evaluate academic administration guidelines in the educational opportunity expansion schools under the office of Roi Et Primary Educational Service Area 2. The research was divided into 2 phases, Phase 1 to study current conditions, desirable conditions and priority needs index of academic administration. The sample group are school administrators and academic teachers total of 128 samples through stratified random sampling technique. The research instrument was a current state and desirable state questionnaire. Phase 2 to design and develop guidelines for academic administration. The informants were school administrators and academic teachers with 3 best practice schools total of 6 persons, and 5 luminaries to assess the suitability and feasibility of guidelines. The research instruments were interview form, suitability and feasibility assessment form. Statistics used to analysis data were frequency, percentage, mean and standard deviation.


The result of this research was found: 1. The current condition and desirable condition of academic administration in the educational opportunity extension school under the office of Roi Et Primary Educational Service Area 2 overall are at a high level. The priority needs index of the academic administration arranged the necessary needs from low to high as follows: curriculum development, teaching and learning in schools, media development innovation and technology for education, educational supervision, assessment evaluation and transfer of academic performance. 2. The guidelines for academic administration in educational opportunity expansion schools under the office of Roi Et Primary Educational Service Area 2 consisted of 5 aspects 15 guidelines. The guidelines suitability and feasibility overall were at highest levels.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจน์ เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2557). การบริหารงานวิชาการและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการ.

ชนิสรา ชุมวงศ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นุชเรศ คำดีบุญ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. ชลบุรี : มนตรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2556). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศุทธินี แก้วรักยศ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สมาน อัศวภูมิ. (2558). การบริหารสำหรับครู(ฉบับปรับปรุง). อุบลราชธานี : อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อภิเชษฐ์ บุญพะยอม. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อัตพร อุระงาม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.
Published
2023-08-17
How to Cite
สุวรรณแสง, ภาณุวัชร; จันทร์ศิริสิร, พชรวิทย์. การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 1-14, aug. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2200>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย