แนวทางพัฒนาการบริหารงานของกลุ่มบริหารงานทั่วไป ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF THE GENERAL ADMINISTRATION GROUP OF ROI ET SPECIAL EDUCATION CENTER
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไปของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานทั่วไปของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานทั่วไปศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากร ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2565 จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานทั่วไป และแนวทางพัฒนาการบริหารงานทั่วไปศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดร้อยเอ็ด สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานทั่วไป ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าสูงสุด ได้แก่ ด้านงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ รองลงมาได้แก่ ด้านงานธุรการและพัสดุกลุ่ม และด้านที่มีค่าต่ำสุดได้แก่ ด้านงานยานพาหนะ 2. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานทั่วไปของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ในสภาพการบริหารงานทั่วไป ทั้ง 4 ด้าน จำแนกตามเพศ ระดับคะแนนความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษา ระดับคะแนนความคิดเห็นโดยรวม แตกต่างกัน และประสบการณ์ทำงาน ระดับคะแนนความคิดเห็นโดยรว ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางพัฒนาการบริหารงานทั่วไปศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ด้านงานธุรการและพัสดุกลุ่ม ควรจัดเก็บงานแฟ้มสารบรรณให้เป็นระบบและปัจจุบัน เพื่อง่ายต่อการสืบค้น และจัดเป็นหมวดหมู่ให้ค้นหาง่าย ด้านงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ในการทำความสะอาด และไฟฟ้า ควรตรวจเช็คให้เรียบร้อย และวัสดุและอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ด้านงานยานพาหนะ ขอความร่วมมือในการรักษาความสะอาดของรถที่ใช้ในราชการ ควรมีการตรวจสภาพรถก่อนใช้งานเป็นประจำ การดูแลรักษาให้พร้อมกับการใช้งานอยู่เสมอ ควรมีมาตรการในการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบงานยานพาหนะมากขึ้น
References
ฉัตรชัย ตันตรานนท. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนางานบริหารทั่วไปโรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ทองทิพภา วิริยพันธุ์. (2550). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พระพิชาญ สุมงฺคโล (ภูประทาน). (2563). แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิรินยา ศิริประโคน. (2561). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนบ้านมาบเตยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.
อรอุมา ตะภา. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายที่ 50 สำนักงานเขตคลองสามวา สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.