การบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3
INSTRUCTIONAL MANAGEMENT IN DIGITAL AGE OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE INSTITUTE OF VOCATIONAL EDUCATION: NORTHERN REGION 3
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานงานวิจัยด้วยค่า t-test และ F–test และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบการบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมและด้านการสอน และด้านสื่อการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการวางแผนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการพัฒนาครูผู้สอนไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 มีดังนี้ ควรมีการจัดทำแผน วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมครูผู้สอนใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน จัดอบรมพัฒนาความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการจัดทำสื่อแก่ครูผู้สอนสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้เทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ส่งเสริมให้ครูมีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะที่จำเป็นซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป
References
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2561). กอปศ.เสนอแนวทางปฏิรูปอาชีวศึกษาต่อรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564. จาก https://siamrath.co.th/n/32483
ชนินทร์ ศรีส่องและคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 18(80). 55-37.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เรียงตะวัน สิทธิเชนทร์ และคณะ .(2563). การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ของครู กศน. สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
วศิน เรืองจันทร์. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาครูในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สนุ่น มีเพชร. (2563). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(3). 380-387.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ :พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา แช่งช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุจินตนา ตรงประสิทธิ์. (2561). การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.