การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด

ACADEMIC ADMINISTRATION IN DEGITAL AGE OF SCHOOL ADMINISTRATORS OF PHRAPARIYTTIDHAMMA SCHOOL UNDER GENERAL EDUCATION SECTION ROI ET PROVINCE

  • จตุพร ศรีประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พรทิวา จุลสุคนธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม จําแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 97 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการทดสอบค่าที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด (1) สถานศึกษาควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตและ    ใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และพัฒนาทักษะการใช้ไอที แก่ครูอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (2) ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมครูผู้สอน ศึกษา และ ทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน (3) สถานศึกษาควรมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้ทันสมัยยิ่งขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

References

กมลวรรณ ปานเมือง. (2563). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชุมพรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16(1). 51–71.

ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พระราชวุธปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริย์ติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวุฒิไกร ตรีภพ. (2560). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(1). 270-274.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พุทธศักราช 2562. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564. จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2562/A/050/T_0011.PDF

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564. จาก https://www.trueplookpanya.com/

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(1). 607-610.
Published
2023-02-14
How to Cite
ศรีประเสริฐ, จตุพร; จุลสุคนธ์, พรทิวา. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในยุคดิจิทัล โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 25-34, feb. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2194>. Date accessed: 19 may 2024.