แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด

GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF HUMAN RESOURCE MANAGEMENT OF THE GENERAL EDUCATION SECTION OF PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOL IN ROI ET PROVINCE

  • ศุจินธร วรานุสาสน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์ , ผศ.ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามสถานภาพ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 97 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test (Independent Samples) และ F-test (One–Way ANOVA) 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง รองลงมา คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการออกจากงาน ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ตามลำดับ 2)  ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้าน  ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการออกจากงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านวินัยและการรักษาวินัยไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด เรียงลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำ 3 อันดับแรก ได้แก่ ควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะในการทำงานทั้ง 4 ฝ่าย ควรมีหลักเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกที่เหมาะสมเพื่อให้ได้บุคคลที่มีวุฒิการศึกษาตรงตามสายงานและความต้องการของโรงเรียน และควรมีการบังคับใช้ข้อบังคับที่ว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยที่เกิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562 อย่างจริงจัง

References

ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีรวุฒิ วรโคตร. (2562). การบริหารงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามความคิดเห็นของบุคลากร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ :มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิชชาวริน ชนะคุ้ม. (2554). การประเมินผลการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัควัฒก์ พองพรหม. (2563). ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 11. (2549). เอกสารสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 11.

วราพร พรมแก้วพันธ์. (2557). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอมายอ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). สรุปรายงานโครงการนิเทศ ติดตามเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปีงบประมาณ 2564. ร้อยเอ็ด : สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สีวรรณ์ ไชยกุล. (2562). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุภาภรณ์ หาญณรงชัยกิจ. (2561). การศึกษาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.
Published
2023-02-14
How to Cite
วรานุสาสน์, ศุจินธร; , ผศ.ดร., พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 89-98, feb. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2105>. Date accessed: 03 july 2024.
Section
บทความวิจัย