การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแผนที่ความคิด

THE DEVELOPMENT OF ANALYTICAL READING COMPREHENSION OF GRADE 9 STUDENTS USING STAD METHOD AND MIND MAPPING TECHNIQUE

  • สายฟ้า หาสีสุข โรงเรียนบ้านเมืองแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแผนที่ความคิด และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแผนที่ความคิด ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน  15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test dependent)


             ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแผนที่ความคิด สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแผนที่ความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จุฬารัตน์ อินทร์อุดม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลธิดา หงษ์เหม. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2545). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภาพรรณ ทองสว่าง และ อ้อมธจิต แป้นศรี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับ เทคนิค 9 คำถาม. Journal of Modern Learning Development. 7(7). 281-296.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

โรงเรียนบ้านเมืองแก. (2565). รายงานประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. บุรีรัมย์ : โรงเรียนบ้านเมืองแก.

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้าวิชาการ.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2541). การอ่านจับใจความ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวทางการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สายฟ้า หาสีสุข. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. วารสารวิชาการแสงอีสาน. 19(1). 29-38.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2546). คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุวิทย์ มูลคํา. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อัจฉรา ประดิษฐ์. (2552). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน (1). กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.
Published
2023-04-09
How to Cite
หาสีสุข, สายฟ้า. การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแผนที่ความคิด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 78-88, apr. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2104>. Date accessed: 26 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย