การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

PARENTS' PARTICIPATIVE MANAGEMENT OF ACADEMIC AFFAIRS OFPHAYAKKAPUMPISAI KINDERGARTEN SCHOOL UNDER THE MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • ปิยะนุช สุขประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัยจำแนกตามเพศระดับการศึกษาและอาชีพ 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของ ของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t–test (Independent Samples) และ F–tes


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยจำแนกตาม เพศและระดับการศึกษาต่างกัน พบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามอาชีพ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย (1)ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในด้านการวิพากษ์หลักสูตรให้มีความทันสมัยและมีกิจกรรมสอดคล้องกับการใช้ทักษะชีวิตตามข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง (2)ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาควรพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน (3)ด้านการวัดและประเมินผล สถานศึกษาควรมีการแจ้งผลการประเมินร่วมกับผู้ปกครองเพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนตามข้อเสนอแนะ (4)ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สถานศึกษาควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ (5)ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา สถานศึกษาควรให้การสนับสนุนโดยการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง

References

จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2562). ผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ (Professional Education Leadership). มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยาจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ, อินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 4(1). 176-187.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุริวิริยะสาส์นการพิมพ์.

พวงสุรีย์ วรคามิน. (2562). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชยตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูสุดา ภู่เงิน. (2560). แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการของครู กลุ่มบางละมุง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภัชชา โพธิ์เงิน. (2562). นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.
Published
2022-10-31
How to Cite
สุขประเสริฐ, ปิยะนุช; ผันสว่าง, จิราภรณ์. การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 48-58, oct. 2022. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2096>. Date accessed: 24 nov. 2024.
Section
บทความวิจัย