ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุบลราชธานี

LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE 21st CENTURY UNDER THE PROVINCIAL OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION IN UBON RATCHATHANI PROVINCE

  • อภิญญา พลอาสา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานีจำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครู จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t–test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F–test


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น จำแนกตามตำแหน่ง ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05       

References

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564. จาก http://203.147.24.83/onieWeb/plann/files/laws/k-am-ksn-2551.pdf

วัลลภา หมื่นมา. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2560). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

ศรสวรรค์ บุญณกรณ์ชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาตร์ : มหาวิทยาลัยเกริก.

ศิริชัย แปลกสินธุ์. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสามขาท่าหาดยาวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมพงษ์ จิตระดับ สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และคณะ. (2564). รายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ตามแนวพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : รังษีการพิมพ์.

อัญชลี ปสันตา. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2551). หลักการของการจัดการศึกษานอกระบบ และปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564. จาก https://panchalee.wordpress .com/2009/03/28/
Published
2022-10-31
How to Cite
พลอาสา, อภิญญา; ผันสว่าง, จิราภรณ์. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 36-47, oct. 2022. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2095>. Date accessed: 03 july 2024.
Section
บทความวิจัย