ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ 12 หมื่นถ่านแจ้งหน่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

CONTEMPORARY LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS OF BASIC EDUCATION DEVELOPMENT NETWORK CENTER 12, MUENTHAN CHAENGNOM UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • สาวิตรี สุจริต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุเทพ เมยไธสง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 12 หมื่นถ่านแจ้งหน่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 12 หมื่นถ่านแจ้งหน่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยจำแนกตามตัวแปร ระดับการศึกษา ขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์การทำงาน และ 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 12 หมื่นถ่านแจ้งหน่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)        


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 12 หมื่นถ่านแจ้งหน่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านภาวะผู้นำแบบเหนือชั้น รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน 3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำร่วมสมัย ผู้บริหารควรให้รางวัลผู้ปฏิบัติงานดีโดยพิจารณาเลื่อนตำแหน่งหรือให้ความก้าวหน้าอย่างเหมาะสม ควรมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถ เฉลียวฉลาด เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน มุ่งมั่นทุ่มเทในการปฏิบัติงาน ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมประกอบการพิจารณาตัดสินใจ และควรมีความจริงใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน มีความมุ่งมั่น มีความมานะพยายามที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ใช้เหตุผลพิจารณาเหตุการณ์ที่รับรู้มาไม่ตัดสินจากความเชื่อส่วนตัว

References

ชลนิชา ศิลาพงษ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธนเสฏฐ์ ภารดีรุจิรา. (2559). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

วิโรจน์ สารัตน์ และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(1). 261-271.

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : ครูอินเตอร์.

สมหมาย โอภาษี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อนุพันธ์ พูลเพิ่ม, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, ชารี มณีศรี. (2564). การศึกษาภาวะผู้นําร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(1). 74-89.

Bass, B.M. & Avolio. (1994). Transformational leadership: Industrial, military, and education. NJ : Lawrence Erlbaum.
Fry, L.W. (2003). Toward a theory of spiritual leadership. The Leadership Quarterly. 14(6). 693-727.

Gardiner. (2006). Urban School Principals and Their Role as Multicultural Leader. Urban Education. 41(6). 560-584.
Published
2022-11-07
How to Cite
สุจริต, สาวิตรี; เมยไธสง, สุเทพ. ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ 12 หมื่นถ่านแจ้งหน่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 1-13, nov. 2022. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2092>. Date accessed: 30 mar. 2024.
Section
บทความวิจัย