พฤติกรรมการใช้แอปปริเคชั่นเฟสบุ๊คและไลน์ไอดี ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา กาดวิถีชุมชนคูบัววัดโขลงสุวรรณคีรี จังหวัดราชบุรี หลังสถานการโควิค 19

BEHAVIOR OF USING FACEBOOK AND LINE APPLICATIONS THAT AFFECT THE DECISION TO BUY PRODUCTS AND SERVICES OF TOURISTS IN THE CASE OF PATHU DISTRICT, KHU BUA COMMUNITY, KHONGSUWANKIRI TEMPLE RATCHABURI PROVINCE, AFTER THE COVID-19 SITUATION

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ แอปปริเคชั่นเฟสบุ๊คและไลน์ไอดี กาดวิถีชุมชนคูบัววัดโขลงสุวรรณคีรี ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และบริการซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือสมาชิก แอปปริเคชั่นเฟสบุ๊คและไลน์ไอดี กาดวิถีชุมชนคูบัววัดโขลงสุวรรณคีรี จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติ ต่างๆ ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่าความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ไคร์สแควร์


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรสโสด อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20,001 บาท โดยมีพฤติกรรมการใช้ Facebook Fanpageของชุมชน โดยมีความถี่ในการเข้าใช้บริการ 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ช่วงเวลาที่เข้าใช้บริการเวลา 08.01-18.00 น.ระยะเวลาในการเข้าใช้บริการ น้อยกว่า 1 ชั่วโมงผ่านอุปกรณ์ที่ใช้บริการได้แก่ สมาร์ทโฟน วัตถุประสงค์ในการเข้าใช้บริการ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการขายการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนในการใช้บริการแอปปริเคชั่นเฟสบุ๊คและไลไอดี กาดวิถีชุมชนคูบัววัดโขลงสุวรรณคีรี เพื่อการกด Like เนื้อหาที่นำเสนอโดยทราบวัตถุประสงค์ของชุมชนในการจัดทำ แอปปริเคชั่นเฟสบุ๊คและไลน์ไอดี กาดวิถีชุมชนคูบัววัดโขลงสุวรรณคีรี เพื่อการ สร้างความสัมพันธ์ลูกค้าและต้องการเป็นสมาชิกส่วนผลการทดสอบ สมมติฐาน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ยกเว้นการศึกษา และสถานภาพ สมรส เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพฤติกรรมการใช้ แอปปริเคชั่นเฟสบุ๊คและไลน์ไอดี กาดวิถีชุมชนคูบัววัดโขลงสุวรรณคีรี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ทิปพับลิเคชั่น.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2551). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

บัณฑิต รอดทัศนา. (2554). พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คและความพึงพอใจต่อการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าผ่านเฟสบุ๊คคิง เพาเวอร์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เฟสบุ๊ค SCB Thailand. (2558). ตอกย้ำความเป็นอันดับ1โซเชี่ยลการเงิน ยอด LIKE ทะยานสู่ 2.5 ล้าน ครองใจลูกค้ายุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www.posttoday. com/economy/finance/347791/2016/10/26

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2559). e-Commerce สุดยอดช่องทางรวยทุนน้อยทําง่ายสร้างรายได้ 24 ชั่วโมง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พงษ์วรินการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2559). วิธีทำการตลาดบน Facebook (facebook marketing). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www.km-web.rmutt.ac.th/ ?p=542

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. ลพบุรี : สถาบันราชภัฎเทพสตรี.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch. 2(2). 49–60.

Zocial Rank. (2011). Facebook Statistic for November 2011. Retrieved 2 February 2023. From https://onlinemedia.idea2mobile.com/?p=1364
Published
2023-04-09
How to Cite
วรพงศ์พัชร์, ณฐาพัชร์. พฤติกรรมการใช้แอปปริเคชั่นเฟสบุ๊คและไลน์ไอดี ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา กาดวิถีชุมชนคูบัววัดโขลงสุวรรณคีรี จังหวัดราชบุรี หลังสถานการโควิค 19. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 59-69, apr. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2077>. Date accessed: 24 nov. 2024.
Section
บทความวิจัย