กลยุทธ์การบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

STRATEGYFOR THE MANAGEMENT OF SCOUT ACTIVITIES IN THE SCHOOLS UNDER THE JURISDICTION OF THE OFFICE OF BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 4

  • สายฟ้า หาสีสุข โรงเรียนบ้านเมืองแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
  • รพีพรรณ ปรีชา โรงเรียนบ้านหนองนกเกรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 1)สภาพปัจจุบัน สภาพ    ที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือจำนวน 192 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2)กำหนดกลยุทธ์ฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือ จำนวน 6 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น PNImodified


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลางสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็น ด้านผู้บริหาร ด้านผู้กำกับลูกเสือ ด้านลูกเสือและด้านการจัดกิจกรรมลูกเสือตามลำดับ 2. ผลการกำหนดกลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์  คือ  1)กลยุทธ์การพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร 2)กลยุทธ์เสริมสร้างความรู้ของผู้กำกับลูกเสือ 3)กลยุทธ์สร้างความตระหนักรู้ของลูกเสือและ   4)กลยุทธ์การจัดกิจกรรมลูกเสือที่มีประสิทธิภาพ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

References

กิตติวัฒน์ ธนพัฒน์โยธิน. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คงศักดิ์ เจริญรักษ์ และคณะ. (2548). การลูกเสือไทยพัฒนาการในยุค 2546-2548. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

มนรัตน์ แก้วเกิด และปิยพงษ์ สุเมตติกุล.(2558).กลยุทธ์การบริหารงานลูกเสือของโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย. OJED. 10(3). 220-234.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2560). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์.
สถิรพร เชาวน์ชัยและฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2561). กลยุทธ์การบริหารสโมสรลูกเสือจังหวัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 12(2). 581-595.

สรรพสิทธิ์ ศรีระวรรณ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สัญญา โต๊ะหนู. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ของกิจกรรมลูกเสือกับการเป็นพลเมืองดี ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2559). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักการลูกเสือยุวกาชาด และกิจการนักเรียน. (2554). สารานุกรมลูกเสือ 100 ปี ลูกเสือไทยเล่มที่ 1.กรุงเทพฯ : สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). เกณฑ์การประเมินคุณภาพงานลูกเสือในสถานศึกษา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ สกสค. ลาดพร้าว.

สํานักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก โรงเรียนต้นแบบลูกเสือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สายฟ้า หาสีสุข. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สาวิตรี ลามพัฒน์. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ. (2551). คู่มือประกอบการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). PMQA เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย.

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2551). พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.

สุธรรมธรรม ทัศนานนท์. (2558). หลักการ ทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรพงษ์ สุวรรณ. (2554). การจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Fidler Brian. (2002). Strategic Management for School Development. London : Chapman Publishing.

Gareth, R. J., & Jennifer, M. G. (2016). Contemporary Management. 9th ed. New York : McGrawHill Education.

Koontz, H., &Weihrich, H. (1990). Essentials of Management. New York : McGraw-Hill.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Strategic Management and Business Policy. Toward Global Sustainability: Pearson Prentice Hall.
Published
2022-11-23
How to Cite
หาสีสุข, สายฟ้า; ปรีชา, รพีพรรณ. กลยุทธ์การบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 2, n. 3, p. 59-71, nov. 2022. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2057>. Date accessed: 19 may 2024.
Section
บทความวิจัย