การพัฒนาคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเมืองเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

DEVELOPMENT HANDBOOK OF THE STUDENT CARING AND SUPPORT SYSTEM OF MUEANG KET GROUP UNDER THE ROI ET PRIMARY EDOCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • ถนัด ประดับเพชร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุเทพ เมยไธสง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและประเมินคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเมืองเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2)เพื่อเป็นคู่มือสำหรับผู้บริหารศึกษา หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียน และครูที่ปรึกษา ได้ศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และผู้บริหารสถานศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางในการดูแล กำกับ ติดตาม และนิเทศ การจัดระบบดูแลช่วยเหลือเรียนของโรงเรียน ในการจัดทำคู่มือครั้งนี้ ผู้จัดทำได้ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและรวบรวมข้อมูลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อ กำหนดเกณฑ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณา และร่างคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงร่างของคู่มือการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเมืองเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กำหนดกรอบเนื้อหาระบบนักเรียนแลช่วยเหลือกำหนดเกณฑ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณา และร่างคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนผู้ทรงคุณวุฒิ9 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียน จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้ประเมิน 30 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนหรือ หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียน ตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาสาระของคู่มือ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย ประกอบด้วย ปก คำนำ สารบัญ คำแนะนำการใช้คู่มือ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ส่วนประกอบของคู่มือ และเนื้อหาการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในกลุ่มเมืองเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2


           ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือในการนำคู่มือไปใช้ ของครูผู้สอน หรือหัวหน้างานกิจกรรมนักเรียน มีความเห็นโดยรวม คู่มือมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุดและ 2)คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเมืองเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานการณ์ปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ตอนที่ 2 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและแนวปฏิบัติของโรงเรียนในกลุ่มเมืองเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 เป็นการนำเสนอองค์ประกอบ กระบวนการในภาพรวมของระบบ ในรูปของผังแสดงโครงสร้างของระบบ วิธีดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของครูผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเคร่งครัด ตอนที่ 3 ได้ชี้แจงการใช้เอกสาร เครื่องมือ ระยะเวลาการจัดเก็บ ตลอดจนผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน อีกทั้งได้รวบรวมเครื่องมือ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ครูผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้ในการดำเนินการเป็นมาตรฐาน เพื่อใช้เก็บข้อมูลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน คือ 1)การรู้จักนักเรียนรายบุคคล 2)การคัดกรองนักเรียน 3)การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4)การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน 5)การส่งต่อ ตอนที่ 4 หลักเกณฑ์อื่นๆ ได้นำเสนอหลักเกณฑ์ที่จำเป็นในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น หลักการเยี่ยมบ้านนักเรียนหลักเกณฑ์ของบุคคลพิการ 9 ประเภท

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). ภาวะสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ฐาณิศรา กาบบัวศรี. (2562). เทคนิคและกระบวนการ POSDCoRBProcess and Techniqueof POSDCORB. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทยหลักสูตรครุศาสตรมาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 1(3). 56–60.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

โรงเรียนในกลุ่มเมืองเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2564). โรงเรียนกลุ่มเมืองเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. จาก http://www.ret2.go.th/ict/.

วลัยวัลย์ พุ่มพึ่งพุทธ. (2554). การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ระดับมัธยมศึกษาตอนตันโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตวิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมพร พุตตาล เบ็ทซ์. (2556). การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1(ฉบับพิเศษ). 88-95.

สมมาตร ปรุงสุวรรณ. (2554). การพัฒนาคู่มือครูในโรงเรียนทหารช่าง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการเขียนรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวดำเนินงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. (2559). เรื่องน่ารู้สู่การใช้หลักสูตร. กรุงเทพฯ : บริษัทอักษรเจริญทัศน์จำกัด.
Published
2022-10-28
How to Cite
ประดับเพชร, ถนัด; เมยไธสง, สุเทพ. การพัฒนาคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเมืองเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 2, n. 3, p. 38-49, oct. 2022. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2046>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย