การศึกษาสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขต เมืองเกษปทุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
A STUDY OF TEACHERS’ FUNCTIONAL COMPETENCY IN MUEANGKET PATHUM CONSORTIUM UNDER ROI ET SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขตเมืองเกษปทุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอน 3)เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ค่า t-test และ F–test
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขตเมืองเกษปทุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำครู ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้ และด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนจำแนกตามเพศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านภาวะผู้นำ และจำแนกประสบการณ์ทำงาน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาผู้เรียน และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอน (1)ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ครูควรศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2)ด้านการพัฒนาผู้เรียน ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพของผู้เรียน (3)ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ครูจัดบรรยากาศที่เหมาะสมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (4)ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ครูวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและทำวิจัยในชั้นเรียน (5)ด้านภาวะผู้นำครู ครูมีความเป็นผู้นำการเรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดี และ (6)ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้ ครูควรประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
References
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564. จาก https://www.kroobannok.com/86760.
ชื่นกมล ประสาตร์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ :มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
พรรษภรณ์ มูลวงศ์.(2558). สมรรถนะของครูโรงเรียนในกลุ่มวิชาการที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พวงจินดา แดนพิมาย.(2562). การพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ภัทริน ไชยวงศ์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุทธชัย ศรีบุญลา. (2561). การเปรียบเทียบสมรรถนะประจำสายของครู ระดับมัธยมศึกษาที่มีเพศและขนาดต่างกัน ในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2553). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกที่เหมาะสาหรับการปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สมัคร ชินบุตร. (2545). ทางเลือกในการพัฒนาตนเองของครู. วิทยาจารย์. 101(2). 19–22.
สหวิทยาเขตเมืองเกษปทุม. (2562). รายงานการประชุมสหวิทยาเขตเมืองเกษปทุมครั้งที่ 4/2562. ร้อยเอ็ด : สหวิทยาเขตเมืองเกษปทุม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุภาพรรณ ธะยะธง. (2562). การศึกษาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยการศึกษา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
Acker-Hocevar, M., and Touchton, D. (1999). A model of power as social relationships: Teacher leaders describe the phenomena of effective agency in practice. Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association. Canada : Montreal, Quebec.