ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN EMERGING INFECTION DISEASE ERA UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SURIN
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน จำนวน 181 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวน (F–test)
ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนการนิเทศการประเมินผล ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการประสานงานด้านหลักสูตร และด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน 2)ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน มีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนร่วมกับคณะครูส่งเสริมครูผู้สอนให้พัฒนาตนเองให้มีความพร้อม ปรับปรุงรูปแบบการนิเทศและการประเมินผล จัดหาสื่อให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีมากขึ้น ใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีความทันสมัยและหลากหลาย
References
ชลนิชา ศิลาพงษ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารคณะศึกษาศาสตร์. 1(8). 408-415.
บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 6(8). 785-791.
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฏีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 10(3). 545–556.
ศราวุธ ทองอากาศ. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (2563). ความพึงพอใจต่อการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ปีการศึกษา 2565. สุรินทร์ : กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.