ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุควิถีใหม่

DIGITAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS ON THE CHANGE MANAGEMENT IN THE NEW NORMAL ORGANIZATION

  • ไสว วีระพันธ์ โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม
  • ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุควิถีใหม่ ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคของความเป็นโลกาภิวัตน์ มีความเจริญก้าวหน้าและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็วเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในอดีตที่ผ่านมาเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์และกลายเป็นสังคมในยุคที่เรียกว่า “สังคมยุคดิจิทัล (Digital Era)” เป็นสังคมโลกที่ไร้พรมแดน ไม่มีขอบเขตที่แท้จริงในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีความรวดเร็วในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาหรือสถานที่ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพตามความต้องการของประเทศ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของสถานศึกษาในฐานะองค์การที่รับผิดชอบด้านการจัดการศึกษา ที่ต้องมุ่งจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปของสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของการบริหารจัดการศึกษานั่นคือ “ผู้บริหารสถานศึกษา” ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อคไปสู่เป้าหมายของการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ผู้บริหารการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดการบริหารของตนเองให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมี “ภาวะผู้นำดิจิทัล” ซึ่งเป็นพฤติกรรมความสามารถของผู้บริหารในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และการจัดการในสถานศึกษา โดยภาวะผ้นำยุคดิจิทัล           มี  6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)วิสัยทัศน์ด้านดิจิทัล 2)การสร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 3)การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 4)การบริหารและการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี 5)การเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี และ 6) การสร้างวัฒนธรรมเรียนรู้ยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล ซึ่งเป็นความสามารถของผู้บริหารในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และการจัดการในสถานศึกษา โดยมีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นําในการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องนําเทคโนโลยีมาบูรณาการใช้ในการจัดการศึกษาและ การทำงานภายในสถานศึกษาได้อย่างสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน ครู และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยี อย่างมีความรอบรู้และรู้เท่าทันสื่อ โดยคํานึงถึงหลักจริยธรรมในการใช้สื่อและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมมาใช้ในการบริหารโรงเรียน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารงานงบประมาณ

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำ: แนวคิด ทฤษฎีและการพัฒนา. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กวี วงศ์พุฒ. (2535). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ : แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

ภารดี อนันต์นาวี. (2565). ผู้บริหารสถานศึกษํา:ภาวะผู้นําดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ. 11(2). 1-12.

สมศักดิ์ จีวัฒนา. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสนเทศและการสื่อสารของบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). ประกาศ เรื่อง การกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังคณะกรรมการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2562. จาก https://www.nesdb.go.th/main.php?filename=develop_issue

สุกัญญา แช่มช้อย. (2564) . การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โครงการสานพลังประชารัฐ. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565. จาก http://www. trueplookpanya.com

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2562). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565. จาก http://www.pracharathschool.go.th/skill/detail/ 52232

De Waal, A. A. (2016). What Makes a High-Performance Organizations?. Retrieved 20 May 2022. From https://www.hpocenter.net/connaissanceset-inspiration

Flanagan, L., & Jacobsen, M. (2003). Technology leadership for the twenty-first century principal. Journal of Educational Administration. 41(2). 124- 142.

International Society for Technology in Education. (2009). Visionary Leadership. Retrieved 30 October 2022. From http://www.iste.org/standards/standards/standards-for-administrators.

Nak Ai, N. (2006). The factors of E-Leadership characteristics and factors affecting E-Leadership effectiveness for basic education principals. Doctor of Education. Srinakharinwirot University.

Telefonica. (2020). How will be the world in 2020. Retrieved 21 May 2022. From https://www.youtube.com/watch?v=XB0CORT1k9w

Yee, D. L. (2000). Image of school principal’s information and Communication technology leadership. Journal of Information Technology for Teacher Education. 9(3). 287-302.

Zhu. (2016). The plant cells. Journal Description. 18(9). 102-114.
Published
2023-04-09
How to Cite
วีระพันธ์, ไสว; ถิ่นแสนดี, ธีรภัทร์. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุควิถีใหม่. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 99-109, apr. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2012>. Date accessed: 29 jan. 2025.
Section
บทความวิชาการ