แนวทางส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • รัฐการ บัวศรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อิสริยณี ฤทธิมาศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโอกาสและอุปสรรคของการดำเนินงานของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและเพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการตลาดออนไลน์เพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยผู้วิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในเรื่องนี้ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเกษตรจากพื้นที่ 5 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู และสกลนคร ทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์ยังมีโอกาสในการเติบโตและสามารถพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการสนับสนุน โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ และการพัฒนาทักษะในการจัดการเทคโนโลยี

References

ช่อมาลา มานะ และอาวรณ์ โอภาสพัฒนากิจ. (2560). ศักยภาพการจัดการตลาดผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ 1). 527-533.

ทวีศักดิ์ กาญจนสวุรรณ. (2552). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส ์(E-Commerce). กรุงเทพฯ : เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์.

ธัญญ์ธีรา อภิกุลวราศิษฐ์. (2561). สารพัดวิธี Online Marketing. กรุงเทพฯ : วิตตี้กรุ๊ป.

บุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). การสื่อสารการตลาด ผ่านสื่อสังคม:ภาพรวมและกรอบแนว ความคิด. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. 2(1). 173-198.

พัชรินทร์ สุภาพันธ์ และคณะ. (2560). กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. ฉบับพิเศษ 2560. 35-44.

พัฒนา สุขประเสริฐ. (2557). ศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการเกษตร. บางเขน : คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พันธ์จิตต์ สีเหนียง และคณะ. (2557). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOTAnalysis) ระบบส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย: กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(3). 601-612.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์ : สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(4). 99-103.

ภรภัทร บัวพันธ์, นิพนธ์ โซะเฮง และ ณัฐพงศ์ บุญเหลือ. (2561). การนำนโยบายโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ประเภทนาข้าวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปีงบประมาณ 2559 ไปปฏิบัติ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(3). 86-98.

วรินทรพิพัชร วัชรพงษ์เกษม. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา: พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วศิน อุ่ยเต็กเค่ง. (2559). การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ ของธุรกิจภาพยนตร์ออนไลน์ รูปแบบสตรีมมิ่งในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). ความรู้เกี่ยวกับ E-commerce. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. จาก www.etda.or.th

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). สศก. จัด focus group เกษตรกร-พ่อค้าในพื้นที่ ถกแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. จาก http://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/31439/TH-TH

Kaur, G. 2016. Social Media Marketing. Asian Journal of Multidisciplinary Studies. 4(6). 34-36.
Published
2021-12-07
How to Cite
บัวศรี, รัฐการ; ฤทธิมาศ, อิสริยณี. แนวทางส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 1, n. 3, p. 22-32, dec. 2021. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/1775>. Date accessed: 19 may 2024.
Section
บทความวิจัย