ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1

  • วัฒสันต์ แสงจันดา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำ  ตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t–test(Independent Samples)และ F-test(One-way ANOVA)


           ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานไม่แตกต่างกัน 3)ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารมีความยุติธรรมรักษาผลประโยชน์และปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเป็นธรรม กำหนดนโยบายให้ชัดเจนและกำกับติดตาม

References

ผอบทอง สุจินพรหม. (2559). การนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 5(2). 101-111.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. (2520). พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแห่ง ณ อาคารใหม่สวนอัมพร 8 กรกฎาคม 2520. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. จาก http://www.fact.or.th/ king/sermon

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2549). ความจริงแห่งชีวิต : บททดสอบใจและเตือนให้นึกถึงความจริง. กรุงเทพฯ : ชมรมชีวเกษม, ประชาคมร่วมสร้างสุขภาวะเพื่อสุขสาธารณะพุทธมณฑล, เบิกม่าน.

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2554). คืนสู่ธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

เมือง สุวรรณแสนทวี. (2563). การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แยกตามเพศ ปีการศึกษา 2562. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สิทธิพร เกษจ้อย. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5(2). 240-257.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W.(1970). Educational and Psychological Measurement. New York : Minnisota University.

Sullivan, E. C. (1994). A Case Study of the Principal ship the School Work Culture, and The Human Resources Management Development System in a Medium-sized Florida School District. Dissertation Abstracts International. 36(12). 1163-A.
Published
2021-07-29
How to Cite
แสงจันดา, วัฒสันต์; ลดาวัลย์, กฤตยากร; สุวรรณแสนทวี, วิมลพร. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 1, n. 3, p. 1-12, july 2021. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/1393>. Date accessed: 18 may 2024.
Section
บทความวิจัย