บทบาทของผู้นำชุมชนในการนำนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

THE ROLE OF COMMUNITY LEADERS IN IMPLEMENTING THE CORONAVIRUS DISEASE (COVID-19) PREVENTION POLICY BY APPLYING THE FOUR GREAT EFFORTS IN KAMALASAI DISTRICT, KALASIN PROVINCE

  • ชยุต วงษาไฮ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เวชสุวรรณ อาจวิชัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้นำชุมชนในการนำนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นบทบาทของผู้นำชุมชนในการนำนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตาม เพศ อายุระดับการศึกษา และตำแหน่ง 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชนในการนำนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .212 - .839 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้นำชุมชนในการนำนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองลงมา คือ ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน ผู้นำชุมชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง ต่างกัน มีบทบาทของผู้นำชุมชนในการนำนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้าน เพศและอายุต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ระดับการศึกษา และตำแหน่ง ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ 3) ผู้นำชุมชนได้ให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ด้านมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยผู้นำชุมชนควรมีการกำหนดมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สู่การปฏิบัติและด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้นำชุมชนควรหาวิธีการส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ในช่วงการแพร่ระบาดโดยมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย


The objectives of this research article were 1) to study the level of communities leader’s roles in implementing the Coronavirus Disease (COVID-19) prevention policy by applying the Four Great Efforts in Kamalasai District, Kalasin Province  2) to compare the opinions of community leaders' roles in implementing the Coronavirus Disease prevention policy by applying the Four Great Efforts principle in Kamalasai District, Kalasin Province, classified by gender, age, education level and 3)  to recommend guidelines for the development of the community leaders' roles in implementing the coronavirus disease prevention policy by applying the the 4 Great Efforts principle in Kamalasai District, Kalasin Province. The sample group used were the headmen, village headmen, chief Inspectors, assistant headmen, village health volunteers, and sub-district medical prctitioners in Kamalasai District. Kalasin Province 310 personnel. The research instrument was the questionnaires with content validity between 0.67-1.00. The discrimination was .212 - .839 and reliability of 0.86. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. Statistics used to test the hypothesis using t-test and F-test.          


The research found that: 1) The role of community leaders had had implementing the Coronavirus Disease prevention policies by applying the Four Great Efforts principle in Kamalasai District, Kalasin Province overall, it was at the highest level. When considering each aspect, sort from aspect with the highest mean to the lowest. The highest average was measures to control the spread of Coronavirus Disease, followed by implementation of the policy. 2) The results of the hypothesis test found that community leaders with gender, age, education level, and position were different, there was a role of community leaders in implementing the Coronavirus Disease prevention policy by applying the Four Great Efforts in Kamalasai District, Kalasin Province, overall and each aspect found that there was a statictically significant difference between gender and age at the .05 level, according to the hypothesis of the research determined. The educarion level, and position were not different, which was not inaccordance with the assumtions of the research determined. 3) The community leaders’ Recommendation were measures to control the spread of the Coronavirus Disease 2019: community leaders should set up measures to control the spread of the Coronavirus Disease 2019 to practice and implementation of the policy, community leaders should find the ways to promote occupatios or imcome during the pandemic with clear guidelines to ensure safety.

References

กระทรวงสาธารณสุข (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ใน ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แหงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565. จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8115

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2529). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เอสเค บุ๊คเนส.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565. จาก https://ddc.moph.go.th/ ddce/

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สยามรัฐออนไลน์. (2563). วิถีชีวิตใหม่ New Normal โดยพระมหาโพธิวงศาจารย์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565. จาก https://siamrath.co.th/n/166631

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2564). รายงานสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2564. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565, จาก https://www.kalasin.go.th/t/index. php/th/covid-19.html?start=913

สุวพิชญ์ โทรักษา และ วิมลสิริ แสงกรด. (2565). การศึกษากระบวนการการนํานโยบายไปปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชุมแพ. Journal of Modern Learning Development. 7(7). 248-262.

อิสสระ หิรัญคำ. (2563). ประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน. 2(1). 1-11.
Published
2023-08-18
How to Cite
วงษาไฮ, ชยุต; อาจวิชัย, เวชสุวรรณ. บทบาทของผู้นำชุมชนในการนำนโยบายการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ในเขตพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 2, n. 2, p. 49-60, aug. 2023. ISSN 2774-1001. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/MBUPJ/article/view/2224>. Date accessed: 27 apr. 2024.
Section
Research Article