ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยนำไปสู่การเรียนรู้

The Language with Thai Identity Leads to Learning

  • ธัญญารัตน์ ชื่นแสงจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

        บทความนี้ผู้เขียนต้องการศึกษาให้เห็นถึงมุมมองของภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติ เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทยและเป็นเครื่องมือสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การศึกษาในศาสตร์วิชาอื่น ๆ ผู้ที่สามารถใช้ภาษาได้ดีจึงสามารถประสบความสำเร็จในการสื่อสารใน ระดับต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และในทางกลับกัน หากมีการนำภาษาไปใช้ไม่เหมาะสม ความไม่ถูกต้องของ ภาษาย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายโดยตรงคือการใช้สื่อสาร อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ และยังส่งผลกระทบของภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งปัจจุบันพบว่า เด็กไทยนั้นมีความบกพร่อง หลายประการ เช่น ปัญหาเรื่องการเขียน เป็นปัญหาที่ควรตระหนักรู้ เด็กไทย มักใช้ภาษาวิบัติไม่คำนึงถึงคำไทยที่ถูกต้อง อีกทั้งยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยในหลาย ๆ ด้าน การใช้ คำทางหลักภาษาให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นหลักไวยากรณ์ อักขรวิธีในการเขียน ภาษาไทยจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งในการศึกษาเล่าเรียนของเด็กไทย คือต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยให้เหมาะสม นอกจากนี้ต้อง ให้ความสำคัญกับภาษาไทยควรปลูกฝังให้เด็ก เยาวชนไทยรักและเห็นคุณค่าของภาษาไทย เพราะ ภาษาไทยนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ใช้สื่อสารติดต่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถ้าทุกคนมีความสามารถในการ ฟัง พูด อ่าน เขียนและสื่อความหมายได้ จะทำให้ ตนเองประสบความสำเร็จ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


        This Article to study the point of view in the Thai is the national language. It is a symbol of Thai identity and is an important tool for communication between people. Study in other subjects those who can speak good languages can succeed in communicating at various levels. It very good and vice versa If the language is not used. Incorrect language will inevitably result in damage. Whether it is direct damage is the use of communication may not be successful. It also affects the language of the national identity. The current. Thai children have many defects, such as writing problems. The problem should be realized. Thai children often use wacky language, regardless of the correct Thai words. There is no knowledge of Thai language in many areas. Use the correct language. Whether its grammatical. Acknowledgments the Thai language is essential for the study of Thai children. Must have knowledge of Thai language. In addition, the importance of Thai. Should instill children. Thai youth love and appreciate the Thai language. Thai language is very important and essential for daily life. Contact Us Learn each other. If everyone has the ability to listen, speak, read and write. To make yourself successful. Can live with others happily.

References

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
คุณหญิงแม้นมาศ ชวลิต, ศ.พิเศษ. (2555). พระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาญาณพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ ด้านภาษา หนังสือ และห้องสมุด. วารสารห้องสมุด. ปีที่ 56 ฉบับที่ 2
(กรกฎาคม- ธันวาคม).
ฉัตรา บุนนาค, สุวรรณี อุดมผล และวรรณี พุทธเจริญทอง. (2529). ศิลปะการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
และทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
ทิศนา แขมมณี. (2557). องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภดล จันทร์เพ็ญ, ผศ. (2547). หลักการใช้ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัท เจเนซิส มีเดียกลม
จำกัด.
ปณิธาน บรรณาธรรม และคณะ. (2545) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
พัฒนาศึกษา.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2528). ศิลปะการเขียน. กรุงเทพฯ: วิชาการ.
ผะอบ โปษะกฤษณะ. (2532). ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: บ ารุงสาสน์.
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, รศ.ดร. สุขภาพจิตเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์, 2530.
สนั่น ปัทมะทิน. (2535). ภาษาไทยที่สื่อมวลชนอาจใช้พลาด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี, 29 กรกฎาคมวันภาษาไทยแห่งชาติ, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:

[25 December 2019]
อมรรัตน์ เทพกำปนาท, รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:

[30 December 2019]
Published
2020-06-05
How to Cite
ชื่นแสงจันทร์, ธัญญารัตน์. ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยนำไปสู่การเรียนรู้. วารสาร สังคมศึกษา มมร, [S.l.], v. 1, n. 1, p. ุุ66 - 78, june 2020. ISSN 2697-603X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/josmbu/article/view/685>. Date accessed: 03 jan. 2025.