บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1
The Internal Supervisory Roles of School Administrators in Primary Schools unders Nakhonpathom Primary Educational Service Area Office 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ใน 6 ด้าน คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านในฐานะผู้นำ ด้านการจัดและดำเนินงานในหน่วยงาน ด้านการคัดเลือกและการใช้ประโยชน์บุคลากร ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจของครู และด้านการพัฒนาบุคลากร 2) เปรียบเทียบบทบาทการนิเทศ ภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษาของผู้บริหาร สถานศึกษาและครู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 310 คน โดยสุ่มตัวอย่าง แบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยโปรแกรมส าเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
1) บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยรวมทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคัดเลือกและการใช้ประโยชน์บุคลากร รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการสร้างขวัญ และกำลังใจของครู ด้านที่มีการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมาก คือ ด้านในฐานะผู้นำ ด้านการ จัดและดำเนินงานในหน่วยงาน และด้านที่มีการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมาก ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์
2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 1 ของผู้ตอบแบบสอบถามตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษาต่างกัน พบว่า โดยภาพรวม บทบาทการนิเทศ ภายในของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดและดำเนินงานในหน่วยงานไม่แตกต่างกัน แต่ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านในฐานะผู้นำ ด้านการคัดเลือกและการใช้ประโยชน์ ด้านการสร้างขวัญและก าลังใจของครู ด้านการพัฒนาบุคลากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยทำให้ทราบว่าบทบาทการนิเทศภายในของ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 อยู่ในระดับมากและระดับมากที่สุด สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้บริหารสถานศึกษาแห่งอื่นใช้เป็น แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการนิเทศภายในของสถานศึกษาตนเองให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
The purpose of this research was 1) to study The Internal Supervisory Roles of School Administrators in Primary Schools Unders Nakhonpathom Primary Educational Service Area Office 1 in 6 areas: human relations As a leader In organizing and suggestion on in-house operation The selection and utilization of personnel The morale creation and encouragement of teachers And personnel development 2) compare The Internal Supervisory Roles of School Administrators in Primary Schools Unders Nakhonpathom Primary Educational Service Area Office 1 working experience And the size of educational institutions of school administrators and teachers. This research is a quantitative research. The sample group used in the research was the Administrators in Primary Schools Unders Nakhonpathom Primary Educational Service Area Office 1, 310 persons by random sampling. The research instrument was a 5 level rating scale questionnaire. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation.
The results of the research were as follows:-
1) The Internal Supervisory Roles of Schools Administrators in Primary Schools Unders Nakhonpathom Primary Educational Service Area Office 1 At a high level ( =4.49) when considered in each aspect, it was found that the aspect with the practice of school administrators at the highest level The highest mean was the selection and utilization of personnel ( =4.65), followed by personnel development ( =4.61), the morale of teachers ( =4.60), the aspects of the school administrators The highest level is in the position of leader ( =4.44) in terms of organizing and operating in the agency ( =4.32) and the aspect with the practice of high level school administrators. The lowest mean is human relations ( = 4.31).
2) The comparison of The Internal Supervisory Roles of Administrators in Primary Schools Unders Nakhonpathom Primary Educational Service Area Office 1 of the respondents according to their positions working experience and the size of educational institutions are different. It is found that the overall internal supervision role of school administrators is significantly different at the level of 0.05%. When considered in each aspect, it was found that in organizing and operating in the agency not different But human relations as a leader Selection and utilization The morale of teachers Personnel development with significant differences at the level of 0.05 The results of this research showed that The Internal Supervisory Roles of School Administrators in Primary Schools Unders NakhonpathomPrimary Educational Service Area Office 1, at a high and highest level able to be a model for other school administrators to use as a guideline to improve and develop internal supervision of their own schools to be more suitable.
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จ ากัด.
จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติ
ส าหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
ธีระ รุญเจริญ. (2544). หน่วยที่ 13 ระบบการศึกษาและระบบบริหารการศึกษาไทย ในประมวลสาระชุด
วิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. (2540). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยวิชาองค์การและ
การจัดการ ธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ (2552). หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน. พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.
สมพงษ์ สิงหะพล. (2552). ต้องสอนให้เกิดจิตส านึกใหม่. สีมาจารย์. 13(27). 15-16.
Best, John W. (1970). Research in Education. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Cronbach, Lee J. (1 9 7 4 ) . Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row
Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1 9 7 0 ) . Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3).
Wiles, Kimball. (1983). Supervision for the Better Schools. 3
rd ed. Englewood Cliffs. New Jersey:
Prentice-Hall.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย