Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ภาษา เขียนบทความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตามให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้วทำให้เข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ สำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษ ควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
  2. ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว) และพิมพ์โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว จัดเป็นคอลัมน์เดียว ระยะห่างระหว่างบรรทัด ในภาษาไทยใช้ double space ภาษาอังกฤษล้วนให้ใช้ single space
  3. ชนิดและขนาดตัวอักษร ภาษาไทยใช้ตัวอักษร TH SarabunPSKและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Times New Romanชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt. ตัวหนา ชื่อผู้เขียนใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt.ตัวปกติ หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา หัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติบทคัดย่อและเนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ ต้นสังกัดหรือที่อยู่ของผู้เขียนใช้อักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ เฉพาะชื่อหัวข้อภาษาอังกฤษ ใช้อักษร Times New Romanขนาด 14 pt. ตัวหนา บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ใช้อักษร Times New Romanขนาด 12 pt. ตัวปกติ เนื้อเรื่องภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ
  4. การพิมพ์ต้นฉบับ ผู้เสนอผลงานจะต้องพิมพ์และส่งต้นฉบับในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลเป็น “.doc” หรือ “.docx” (MS Word) และ “.pdf” มาพร้อมกันทั้ง 2 รูปแบบ
  5. จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง

รูปแบบการเขียนต้นฉบับ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทปริทัศน์หนังสือ

  1. บทความวิจัย ให้เรียงลำดับดังนี้

  1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของงานวิจัย ไม่ใช้คำย่อความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยให้ชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน

  1.2 ชื่อผู้เขียน Author(s) และที่อยู่ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบัน ที่อยู่และ E-mail address ของผู้เขียนเพื่อกองบรรณาธิการใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว

  1.3 บทคัดย่อ (Abstract) เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้นและมีเนื้อหาครบถ้วนตามเรื่องเต็มความยาวไม่เกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัดไม่ควรใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากลและให้บทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ

  1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา ไม่เกิน 5 คำ

  1.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนเริ่มต้นของเนื้อหา ที่บอกความเป็นมา เหตุผลและวัตถุประสงค์ ที่นำไปสู่การทำงานวิจัยนี้รวมถึงทฤษฎีวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

  1.6 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา (Materials and Methods) ให้ระบุรายละเอียดวัสดุอุปกรณ์สิ่งที่นำมาศึกษาจำนวน ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษาอธิบายวิธีการศึกษา แผนการทดลองทางสถิติวิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และการแปลข้อมูล

  1.7 ผลการศึกษา (Results) รายงานผลการศึกษาที่ค้นพบ ตามลำดับหัวข้อของการศึกษาวิจัย อย่างชัดเจนได้ใจความ ถ้าผลไม่ซับซ้อน ไม่มีตัวเลขมาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลข หรือตัวแปรมาก ควรใช้ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิแทน ในบทความไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง หรือแผนภูมิ

            1.8 การอภิปรายและสรุปผล (Discussion and Conclusion) แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ควรมีประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป

            1.9 ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Table, figure, and diagram) ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น แยกออกจากเนื้อเรื่อง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อเรื่องและต้องมีคำอธิบายสั้น ๆ แต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน กรณีที่เป็นตาราง คำอธิบายอยู่ด้านบน ส่วนรูปภาพ แผนภูมิคำอธิบายอยู่ด้านล่าง

            1.10 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ระบุสั้น ๆ ว่างานนี้ได้รับทุนสนับสนุน และความช่วยเหลือจากองค์กรใดหรือบุคคลใดบ้าง

            1.11 เอกสารอ้างอิง ระบุรายการเอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วนท้ายเรื่อง สามารถดูตัวอย่างได้ที่ (ใส่เว็บ) เอกสารที่นำมาอ้างอิงต้องเป็นเอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์และได้รับการยอมรับทางวิชาการ

  1. บทความทางวิชาการ หรือ Review article ต้องมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
  2. บทปริทัศน์หนังสือ ต้องมีส่วนประกอบหลักได้แก่ ข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้วิจารณ์ บทวิจารณ์

การส่งต้นฉบับและการพิจารณา

ผู้เขียนบทความสามารถส่งบทความผ่านเว็บไซต์วารสารออนไลน์ โดยการลงทะเบียนในฐานะผู้เขียนบทความ (Author) และส่งไฟล์บทความต้นฉบับเข้าระบบ โดยประสานกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กองบรรณาธิการจะดำเนินการตามลำดับ ดังนี้

  1. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับต้นฉบับแล้ว จะทำการตรวจสอบรูปแบบความถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องจะส่งกลับให้ผู้เขียนแก้ไข เมื่อผู้เขียนแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งกลับมายังกองบรรณาธิการเพื่อดำเนินการต่อไป
  2. กองบรรณาธิการจะประชุมพิจารณาต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขถูกต้องแล้ว ว่าสมควรตีพิมพ์หรือไม่และพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิผู้พิจารณา
  3. กองบรรณาธิการจัดส่งต้นฉบับตามข้อ 2 ให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ
  4. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับต้นฉบับกลับคืนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะส่งให้ผู้เขียนแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้เขียนจะต้องส่งต้นฉบับกลับคืนมายังกองบรรณาธิการ ภายในเวลาที่กำหนด ถ้าผู้เขียนไม่แก้ไข กองบรรณาธิการจะไม่ตีพิมพ์
  5. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบ ทบทวนรายละเอียดต้นฉบับอีกครั้งก่อนส่งโรงพิมพ์

การอ้างอิงเอกสาร

ใช้การอ้างอิงแบบ APA 6