การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบิดา-มารดากับบุตร-ธิดา ตามหลักคำสอนของทิศ 6 ในพระพุทธศาสนา
THE CREATING RELATIONSHIP BETWEEN PARENTS AND CHILDREN ACCORDING TO THE SIX DIRECTIONS (DISA) IN BUDDHISM
Abstract
การสร้างความสัมพันธ์เพื่อปิดป้องช่องว่างระหว่างบิดามารดากับบุตรธิดา ตามหลักคำสอนของทิศ 6 ในพระพุทธศาสนาอันเป็นการกระทำหน้าที่ต่อกันระหว่างทิศ ดังนี้ ทิศเบื้องหน้า มารดา-บิดา กระทำหน้าที่ต่อบุตรผู้เป็นทิศเบื้องหลังในฐานะของผู้สร้าง คือ สร้างทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนบุตรกระทำหน้าที่ต่อมารดา-บิดาในฐานะผู้เติมเต็มความเป็นมารดา-บิดา คือ ทำให้มารดา-บิดาได้กระทำหน้าที่ของตนในฐานะมารดา-บิดา ถ้าไม่มีบุตร ชาย-หญิงทั้งคู่ย่อมไม่ได้กระทำหน้าของมารดา-บิดา สังคมในยุคการเกษตรนั้นเป็นสังคมที่มารดาบิดาสามารถกระทำหน้าที่สร้างบุตรธิดาของตนตามแนวคิดเรื่องหน้าที่ในทิศ 6 ได้เป็นอย่างดี ส่วนในยุคข้อมูลข่าวสารหรือสมัยปัจจุบันนั้น มารดาบิดาไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่ของตนตามหลักทิศ 6 ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปลี่ยนมาพัฒนาทางด้านวัตถุมากขึ้นตามกระแสสังคมโลก มารดาบิดาในยุคนี้แทบไม่มีเวลาจะอยู่ดูแล อบรมสั่งสอนบุตรธิดาของตนเลย ทำให้ทั้งสองยุคนี้ มารดาบิดาส่วนมากจะเน้นไปที่การสร้างบุตรธิดาทางร่างกายมากกว่า เพื่อเป็นการทดแทนความอบอุ่นทางใจที่ขาดหายไป ซึ่งเป็นการทดแทนที่ไม่ถูกต้อง เพราะคนเรานั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจ จึงควรที่จะพัฒนาเลี้ยงดูไปพร้อมๆกัน ฉะนั้นมารดาบิดาควรที่จะให้เวลากับบุตรธิดามากขึ้น ควรจะตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากเวลาทำงาน เช่น งานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่จำเป็นจริงๆ ออกไป เพื่อให้เวลากับบุตรธิดาของตนในการอบรมสั่งสอนและเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ครอบครัวมากขึ้น เพราะหน้าที่มารดาบิดาที่ตามหลักทิศ 6 ทั้ง 5 ข้อนั้น รวมลงที่ห้ามไม่ให้บุตรธิดาทำชั่วและให้บุตรธิดาทำแด่ความดี มารดาบิดาใดทำได้เช่นนี้ ถือว่าได้ทำหน้าที่ที่ดีของตนที่ควรกระทำต่อบุตรของตนได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อปิดป้องช่องว่างระหว่างบิดามารดากับบุตรธิดาตาหลักของทิศ 6 ในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
References
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2544). จริยศาสตร์ตะวันตก : ค้านท์มิลล์ฮอบส์รอลส์ซาร์ทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญมี แท่นแก้ว. (2539). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
บุญมี แท่นแก้ว. (2542). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ปิ่น มุทุกันต์. (2535). มงคลชีวิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ). (2525). หน้าที่ของคน. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.
พระมหารัศมี ชูติโก (ด้วงได้). (2535). การศึกษาเปรียบเทียบมิตรภาพในพุทธปรัชญากับอริสโตเติล.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2552). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2551). พุทธศาสตร์กับปัญหาจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Thai Tipitaka Tee. Pa. (Thai). (2535). Suttantapitaka Teeganikaya Patikavak. Phra Nakhon Si Ayutthaya : Mahachulalongkornrajavidyalaya University