พัฒนาเรื่องวรรณะ 4 หลักการปกครองในคัมภีร์พระเวท

The Development of Caste 4 Principles of Government in the Vedic Texts

  • พระใบฎีกา นรินทร์ สีลเตโช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูปลัด ทองใบ สุปภาโส มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระมหาอำนวย มหาวีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูวิกรมธรรมธัช . มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการเรื่องวรรณะ 4 หลักการปกครองในคัมภีร์พระเวท ผลการศึกษาพบว่า วรรณะ 4 เกิดจากความเชื่อทางศาสนาของชนเผ่าดราวิเดียนกับชนเผ่าอารยัน เกี่ยวกับเรื่องพระเจ้าสูดสุดคือพระพรหมผู้สร้างโลกสร้างมนุษย์ในคัมภีร์พระเวท โดยชาวอารยันสร้างวรรณะ 4 ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นหลักปกครองสังคมและเพื่อกีดกันหรือป้องกันไม่ให้พวกดราวิเดียนกลืนเผาอารยันด้วยการแต่งงานกันข้ามเผ่า ดังนั้น ชาวอารยันจึงสร้างวรรณะ 4 ขึ้นมาเพื่อความคุมและตัดรอนสิทธิและอำนาจของชนชนเผาดราวิเดียน โดยอ้างว่า พระพรหมสร้างพราหมณ์ ขึ้นมาจากปาก เพื่อสั่งสอนแทนพระองค์ สร้างกษัตริย์ขึ้นมาจากแขนเพื่อปกครองมนุษย์แทนพระองค์ สร้างแพศย์ขึ้นมาจากตะโพกของพระองค์เพื่อจัดการเรื่องอาหารและการค้าขาย และสร้างพวกศูทรซึ่งเป็นชนเผ่าดราวิเดียนขึ้นมาจากเท้าเพื่อรับใช้คนทั้ง 3 วรรณะข้างต้นซึ่งเป็นชนเผ่าอารยัน และตัดสิทธิ์ต่างๆทางสังคม เช่น การศึกษาในศาสตร์ต่างๆ วรรณะศูทรไม่มีสิทธิ์ศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวดราวิเดียนแต่งงานกับชาวอรยันอีก

References

ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2535). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน. (2522). ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2547). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พระนรินทร์ สีลเตโช. (2561). การวิเคราะห์พัฒนาการเรื่องพรหมในยุคพระเวทและอุปนิษัท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Published
2022-09-27
How to Cite
สีลเตโช, พระใบฎีกา นรินทร์ et al. พัฒนาเรื่องวรรณะ 4 หลักการปกครองในคัมภีร์พระเวท. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 1, n. 2, p. 90-97, sep. 2022. ISSN 2774-1001. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/MBUPJ/article/view/2015>. Date accessed: 24 apr. 2024.
Section
Academic Article