ผลกระทบของสงครามยูเครน–รัสเซียต่อการจัดระเบียบโลกใหม่

The Impact of the Ukrainian-Russian War on the New World Order

  • จารุต อนันตวิริยา งานเภสัชกรรม ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

Abstract

            หลังจากการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นในปี 1991แล้ว เกิดการแตกสลายของ “รัฐโซเวียต”      ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโซเวียต แยกตัวออกเป็น “รัฐเอกราชใหม่”จำนวน  12 ประเทศ หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ประเทศยูเครนได้ดำเนินนโยบายมุ่งสู่ชาติตะวันตก โดยหันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และสหภาพยุโรปความพยายามของยูเครนที่จะเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้)ทำให้รัสเซียซึ่งมีแนวความคิดในเชิงมิติทางภูมิรัฐศาสตร์ว่าพื้นที่ของยูเครนเป็น “เขตอิทธิพล” ของรัสเซีย การที่ยูเครนใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปมากขึ้นกระทบต่อความมั่นคงของรัสเซียจึงเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย กับ ยูเครนขึ้นซึ่งไม่เพียงสร้างความปั่นป่วนให้กับเศรษฐกิจโลกในระยะสั้นเท่านั้น แต่กำลังจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกกันว่า ระเบียบโลกใหม่ เป็นโลกที่ แยกฝั่ง แบ่งขั้ว กันมากกว่าที่จะหลอมรวมเป็นหนึ่งนำโดยสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก ด้วยเหตุผล3ประการ ประการที่หนึ่ง สงครามยูเครนผลักให้พันธมิตรตะวันตกและนาโตรวมพลังกันเป็นหนึ่งเดียวและเหนี่ยวแน่นที่สุด กลายเป็นยุโรปต้องพึ่งพาสหรัฐฯ ทั้งในเรื่องพลังงานและอาวุธอย่างสูงยิ่งประการที่สอง สหรัฐฯ สามารถปลุกพันธมิตรในยุโรปและในเอเชียให้มองจีนและรัสเซียเป็นภัยคุกคามคล้ายๆ กัน ยิ่งผลักให้พันธมิตรของสหรัฐฯ หันมาร่วมกับสหรัฐฯ กดดันและปิดล้อมจีนหนักยิ่งขึ้นกว่าเดิม และกระแสว่าจีนอยู่ข้างรัสเซีย ประกอบกับการที่จีนไม่ประณามและไม่ร่วมคว่ำบาตรรัสเซีย ย่อมทำให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในยุโรปกลับจะมีจุดยืนที่แข็งกร้าวต่อจีนยิ่งขึ้นและ ยังสะท้อนภาพชัดว่า สหรัฐฯ ยังคงเป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจและการเงินอันดับ 1 ของโลก พันธมิตรของสหรัฐฯ ที่ร่วมคว่ำบาตรด้วยกันมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันมากกว่าร้อยละ 50 ของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ค่ายจีนบวกรัสเซียนั้นมีขนาดอยู่ที่เพียงประมาณ 1 ใน 5 ของเศรษฐกิจโลกเท่านั้นเอง ประการที่สาม สงครามยูเครนยังส่งผลให้สถานะของดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้นจีนเองก็มีอำนาจต่อรองต่อรัสเซียสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็สูญเสียความสัมพันธ์ที่ดีกับสหภาพยุโรป ส่วนยุโรปเอง ก็ต้องพึ่งพาสหรัฐฯ สูงขึ้น เพราะไม่สามารถคบรัสเซียและจีนได้อย่างเดิมอีกต่อไป

References

จิตติภัทร พูนขำ. (2553). พินิจทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวสัจนิยมใหม่ (Neorealism): ว่าด้วยความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกากับดุลแห่งอำนาจในยุคหลังสงครามเย็น. วารสารสังคมศาสตร์. 41(1). 1-32.

ชาญชัย คุ้มปัญญา. (2565). ยูเครนเหยื่อการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565. จากhttps://www.thaipost.net/columnist-people/93580/.

ธโสธร ตู้ทองคำ. (2565). ความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์สู่สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนใน ค.ศ. 2020วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 3(2). 18-35.

นิพัทธ์ ทองเล็ก. (2565). ภาพเก่าเล่าตำนาน : ขุมทรัพย์มหาศาลในแผ่นดินยูเครน. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม2565. จาก https://www.matichon.co.th/uncategorized/news_3217173.

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. (2565). คำถาม/คำตอบ 10 ข้อ กรณีการรุกรานยูเครน: มุมมองกฎหมายระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565. จาก https://prachatai.com/journal/2022/03/97491.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2541). หน่วยที่ 14 หลักและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์ เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์ หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Published
2022-09-22
How to Cite
อนันตวิริยา, จารุต. ผลกระทบของสงครามยูเครน–รัสเซียต่อการจัดระเบียบโลกใหม่. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 1, n. 2, p. 76-89, sep. 2022. ISSN 2774-1001. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/MBUPJ/article/view/1983>. Date accessed: 28 jan. 2025.
Section
Academic Article