วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงใหม่

Analyze the Influence Factors Health Services of Sub-district Health Promotion Hospitals in Chiang Mai Province

  • เวชสุวรรณ อาจวิชัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เบญญาภา วงษ์แหวน นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า
  • รณชิต พุทธลา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

Abstract

           การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อวัดและประเมินผลการบริหารจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ 2)เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3)เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1)บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ (2)ประชาชนผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ


            ผลการศึกษาระดับความสำเร็จของการจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปากลาง นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามรายตัวแปรเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่า ทุกตัวแปรที่ศึกษามีความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .230 – .510 โดยพิจารณาเป็นรายตัวแปรพบว่าตัวแปรความชัดเจนในเป้าหมายของนโยบาย มีความสัมพันธ์กับตัวแปรความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์สูงสุดที่ค่าความสัมพันธ์ที่ .510 ส่วนตัวแปรการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน มีความสัมพันธ์กับตัวแปรลักษณะของหน่วยงานปฏิบัติการต่ำสุดที่ค่าความสัมพันธ์ที่ .230 ซึ่งทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย

References

ประเวศ วะสี. (2541). บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตแลสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. (2541). จากเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาพพอเพียง. นนทบุรี : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554). ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2544). โครงการบัตรประกันสุขภาพระบบประกันสุขภาพภาคสมัครใจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2544). ระบบสุขภาพของประเทศไทย ในเอกสารวิชาการประกอบการสัมมนาระบบหลักประกันสุขภาพของเอเชีย เจด็จ ธรรธัชอารี บรรณาธิการ. นนทบุรี : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์. (2553). คุณภาพของระบบสุขภาพ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Barbara, E.B. (2014). Research misconduct involving noncompliance in human subjects research supported by the Public Health Service: Reconciling separate regulatory systems,” the intersection of research fraud and human subjects research: a regulatory review, special report. Hasting center report 44. 4(2014). S2-S26.

Kristine, M.G. (2013). Implications of Preparedness and Response Core Competencies for Public Health, Faculty of Health Sciences, Flinders University School of Nursing & Midwifery, Adelaide, South Australia, Australia. J Public Health Management Practice. 19(3). 224-230.

Levey, S. & Loomba, N.P. (1973). Health Care Administration: A Managerial Perspective. Philadelphia : J.B. Lippincott Company.

Walsh, L. & Subbarao, I. (2012). Core competencies for disaster Medicine and public health. Disaster Med Public Health Prep. 6(1). 44-52.
Published
2022-09-22
How to Cite
อาจวิชัย, เวชสุวรรณ; วงษ์แหวน, เบญญาภา; พุทธลา, รณชิต. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 1, n. 2, p. 31-40, sep. 2022. ISSN 2774-1001. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/MBUPJ/article/view/1979>. Date accessed: 15 jan. 2025.
Section
Research Article