การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

People’s Participation of the 5 Precepts Village Development at Selaphum District, Roi Et Province

  • กัลยาณี สุคชีวิน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เวชสุวรรณ อาจวิชัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5  อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t–test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)


             ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี คือ ไม่เสพของมึนเมารองลงมา ด้านอทินนาทานา เวรมณี คือ  ไม่เอาของที่เขามิได้ให้และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านปาณาติปาตา เวรมณี คือ ไม่ทำลายชีวิต 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันส่วนจำแนกตามอายุ และอาชีพ ด้านปาณาติปาตา เวรมณี คือ ไม่ทำลายชีวิตและด้านกาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี คือ ไม่ประพฤติผิดในกามแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดประชาชนควรมีส่วนร่วมในการให้ข้อแนะนำในการรักษาศีล 5 ในชุมชน

References

คณะกรรมการโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ส่วนกลาง. (2559). รายงานการตรวจติดตามโครงสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ประจำปี 2559. กรุงเทพฯ : อัพทรูยู ครีเอทนิว.

บุษรา วงศ์รักศักดิ์. (2555).ภาวะผู้นำการบริหารงานท้องถิ่นไทยสู่ความเป็นเลิศ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประสิทธิ์ ลาภพิทักษ์มงคล. (2558). คุณลักษณะผู้ประนีประนอม:แนวคิดและการพัฒนาตามหลักพุทธสันติวิธี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10). 5678-5687.

พระครูสุพัฒนกาญจนกิจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการทำงานของคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรี ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(2). 571-583.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช.

พระพุทธโฆสเถระ. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

วณิฎา ศิริวรสกุล, วัชรินทร์ อินทพรหม. (2561). รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายหมู่บ้านรักษาศีล 5 ให้ประสบความสำเร็จ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(29). 203-209.

สุภาพร วัชรคปต์. (2558). พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของประชาชนในหมู่บ้านรักษาศีล 5 นำร่องอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวดสระแก้ว. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Davis & Newstrom (1989). Human Behavior at Work: Organizational Behavior. (7th ed). New York : McGraw–Hill Book Company.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Published
2022-02-07
How to Cite
สุคชีวิน, กัลยาณี; อาจวิชัย, เวชสุวรรณ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 1, n. 1, p. 1-11, feb. 2022. ISSN 2774-1001. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/MBUPJ/article/view/1840>. Date accessed: 19 apr. 2024.
Section
Research Article