การสร้างเครื่องมือวัดด้านจิตพิสัย : การวัดความคิดสร้างสรรค์

Psychological Measurement: Creativity

  • อุษาพร เสวกวิ วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อุบล สรรพัชญพงษ์ วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

บทคัดย่อ


การจัดการศึกษาในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในแผนงานการพัฒนาการศึกษามีนโยบายในการพัฒนาผู้เรียนทุกระดับชั้นทั้งในด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและด้านจิตพิสัยและสิ่งที่สำคัญที่จะสะท้อนความสำเร็จของการจัดการศึกษาและการพัฒนาผู้เรียนอยู่ที่การวัดผลและการประเมินผลความสำเร็จโยเฉพาะการวัดผลและการประเมินผลความสำเร็จด้านจิตพิสัยจะดำเนินการได้ยากกว่าด้านอื่น นโยบาย 3R-8C ซึ่งในส่วนแรกจะเป็นด้านพุทธิพิสัย(3R) ประกอบด้วย การอ่านออก เขียนได้และมีทักษะการคำนวณ และในส่วนที่สองด้านจิตพิสัย (8C) ประกอบด้วยทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาได้ (Critical thinking and problem solving) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม (Creativity and innovation) ทักษะความร่วมมือการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaborative teamwork and leadership) ทักษะในการสื่อสาร (Communication) ทักษะความเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรม (Cross-cultural understanding) ทักษะการคำนวณและการใช้เทคโนโลยี (Computing and ICT literacy) ทักษะทางอาชีพและการเรียนรู้ (Career and learning skill) และความมีคุณธรรม (Compassion) สำหรับการสร้างเครื่องมือวัดด้านจิตพิสัยให้สามารถวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัยของบุคลได้อย่างแท้จริงควรเริ่มจากการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการที่สามารถมีนิยามที่สามารถแปลงเป็นประโยคคำถามที่ทำให้ผู้ตอบแสดงตำตอบที่ตรงกับพฤติกรรมและความคิดที่แท้จริงได้และในในขณะเดียวกันผู้วิจัยที่สร้างคำถามก็สามารถแปลความหมายได้อย่างชัดเจน หลังจากการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการแล้วผู้วิจัยต้องสร้างแบบวัดให้สมบูรณ์รวมทั้งพัฒนาและหาคุณภาพของแบบวัดทั้งในส่วนความเที่ยงตรง(Validity) และความเชื่อมั่น(Reliability) ของแบบวัดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง


Abstract


The Ministry of Education has presently stipulated the educational development management plan which its policy in all levels learners’ development emphasizes in terms of Cognitive Domain, Affective Domain and Psychomotor Domain. The most important thing that reflects the success of educational management and development of learners are the measurement and success evaluation, in particular, the measurement and evaluation of the Psychomotor Domain will be more difficult to implement than the other domains. In the 3R-8C policy, the first part is Cognitive Domain (3R) consists of literacy and calculation skills; in the second part, Affective Domain (8C) consists of Critical thinking and problem solving skills, Creativity and innovation skills, Collaborative teamwork and leadership skills, Communication skill, Cross-cultural understanding skill, Computing and ICT literacy skills, Career and learning skills, and Compassion. Creating the Psychomotor Domain measurement tool in order to truly measure the personality of a person should start with operational definition that can be transformed into a question sentence; it allows the respondent to show the answers that correspond to true behavior and ideas, and at the same time, the researcher who creates the questions would be able to clearly interpret the meanings. After defining the operational definition, the researcher must complete the test including develop, and find the quality of the test in both the Validity and Reliability of the test to the appropriate level before actual use.

References

ธีรภัทร สุดโต และ อภันตรี นาคอำไพ วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 34 ฉบับที่ 96 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560 หน้า 3

ประสพชัย พสุนนท์ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 เมษายน-กันยายน 2557 ,หน้า 151-154

ประสพชัย พสุนนท์ ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 มกราคม-ธันวาคม 2558

สำนักงาน ก.พ. การคิดเชิงสร้างสรรค์ (หนังสืออิเลคทรอนิคส์ http://www.ocsc.go.th/) 2559
Published
2021-04-04
How to Cite
เสวกวิ, อุษาพร; สรรพัชญพงษ์, อุบล. การสร้างเครื่องมือวัดด้านจิตพิสัย : การวัดความคิดสร้างสรรค์. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 64-74, apr. 2021. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/806>. Date accessed: 23 apr. 2024.