ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ของครูปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Understanding in Learning Experience Provision According to Early Childhood Education Curriculum B.E. 2560 of Preschool teachers, Office of The Private Education Commission, Chatuchak District, Bangkok

  • อนิสา สระมาลา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของครูปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยจำนวน 173 คน จาก 12 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบวัดความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ


ผลการศึกษาพบว่า ครูปฐมวัยมีความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในด้านการเตรียมการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มากที่สุด ร้อยละ 63.74 รองลงมา คือ ด้านการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ร้อยละ 60.19 และด้านที่ครูปฐมวัยมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากที่สุด คือ ด้านการดำเนินการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ร้อยละ 53.83 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ครูปฐมวัยมีความเข้าใจถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของเด็กเป็นรายบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ ร้อยละ 98.84 และครูปฐมวัยมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนมากที่สุดว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ระลึกถึงความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเรียนรู้ในเรื่องใหม่ ร้อยละ 95.38


          The purpose of this study was to investigate the understanding of learning experience provision according to Early Childhood Education Curriculum B.E. 2560 of preschool teachers, Office of the Private Education Commission, Chatuchak District, Bangkok. The population used in the study were 173 preschool teachers from 12 schools under the Office of the Private Education Commission, Chatuchak District, Bangkok, The tool used for data collection was a test of understanding in organizing learning experiences according to Early Childhood Education Curriculum B.E. 2560. Frequency and percentage were used for analyzed data.


          The results indicated that preschool teachers had the most understanding in the preparation for learning experience provision according to Early Childhood Education Curriculum B.E. 2560 of 63.74 percent, followed by the assessment of child development of 60.19 percent. And the aspect of preschool teachers had the most misunderstandings was the operation in organizing learning experiences of 53.83 percent. And when considering each item, it was found that preschool teachers had the most accurate understanding about child development assessment that aims to develop the progress of children individually to the full potential of 98.84 percent. And preschool teachers had the most misunderstandings that organizing learning activities in the teaching stage aims to activate children to recognize the prior knowledge that was relevant and related to learning in the new concepts of 95.38 percent.

Published
2019-07-05
How to Cite
สระมาลา, อนิสา; หิรัณย์ชโลทร, ปิยะนันท์. ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ของครูปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 365-380, july 2019. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/423>. Date accessed: 28 mar. 2024.