@article{edj, author = {เกศรา น้อยมานพ and ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ and ธนภร อินต๊ะสิน and ณภัทร โพธิ์วัน and สวาสดิ์ วารินกุฎ}, title = { การเปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1}, journal = {วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร}, volume = {8}, number = {1}, year = {2020}, keywords = {}, abstract = {บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 โดยจำแนกตามเพศ และระดับชั้นของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ด้านแรก การตระหนักและการเห็นคุณค่าตนเอง ด้านที่สอง การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่สาม การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และด้านที่สี่การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เครื่องมือในการวิจัยที่ใช้มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.245-0.854 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.974 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 จำนวน 1,053 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent-Sample t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) รวมถึงการทดสอบภายหลังด้วยวิธี Least Significance Difference (LSD) ผลการวิจัย พบว่า ระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำแนกตามมีความแตกต่างกันระหว่างนักเรียนชายและหญิงในภาพรวมและทั้ง 4 องค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05 อย่างไรก็ดี ผลการศึกษากลับพบว่า ระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ไม่มีความแตกต่างกันตามระดับชั้นทั้งในภาพรวมและทุกองค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05 ยกเว้นองค์ประกอบด้านการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ Abstract The objective of this research was to compare the levels life skills among primary school students under Buriram Primary Education Service Area Office 1 according to gender and primary educational level. The concept of the life skill based on The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D.2008) of the Ministry of Education, Thailand, consisted of four main components: (i) self-realization and self-esteem, (ii) analytical thinking, decision making and creative problem-solving, (iii) emotional and stress management, and (iv) interpersonal relationship. Participants selected by stratified random sampling were 1,053 primary school students in schools under Buriram Primary Education Service Area Office 1. The research instrument used in this study was a five-rating scale questionnaire with 58 questions. The discrimination of items in the questionnaire ranged between 0.245 and 0.854, and the reliability was 0.974. Data were analyzed by using independent-sample t-test, one-way analysis of variance (One-Way ANOVA) and post-hoc comparison using the least significance difference (LSD). The findings based on independent sample t-test revealed that there was a statistically significant difference in the level of life skills in overall and all components between boys and girls (p<.05). However, the result based on one-way ANOVA found that there was no statistically significant difference in the levels of life skills in overall and all components (p<.05) except for the component of an analytical thinking, decision making and creative problem-solving.}, pages = {294--303}, url = {http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/827} }