%A บัวเจริญ, ปาริชาติ %A เตชะพนธ์รัตนกุล, นพรัตน์ %A บัวเจริญ, ปวันรัตน์ %D 2019 %T การศึกษาปัจจัยที่มีส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ %K %X บทคัดย่อ           การวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษา และปัจจัยที่มีส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี  ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560  จำนวน 356 คน  ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้านสัมพันธภาพในครอบครัว และด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.82  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า     ระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับ “สูง”   ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาในด้าน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สภาพแวดล้อมทางการเรียน และสัมพันธภาพในครอบครัว อยู่ในระดับ “สูง” ส่วนด้านการแก้ไขเฉพาะหน้า อยู่ในระดับ “ปานกลาง”และ โดยรวมอยู่ในระดับ “สูง” ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า     สัมพันธภาพในครอบครัว   และ สภาพแวดล้อมทางการเรียน  มีความสัมพันธ์ทางบวก กับ ความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05               This research aims to study the students’ creative thinking and factors that result in creative thinking of bachelor degree students from Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Lanna Chiangmai. The samples in this research were 356 students who enrolled in the second semester, academic year 2017. These samples were from ‘Stratified Random Sampling’. The instrument was the questionnaire that concern about achievement motivation, facing problem solution, family relationship, and learning environment. The questionnaire’s statistical confidence was at 0.82. The data analysis consisted of Frequency Distribution, Percentage, Mean Score, Standard Deviation (SD), and Pearson’s Correlation Efficiency Analysis.             The results showed that; The level of creative thinking of students from the Faculty of Engineering, Rajagamangala University of Technology Lanna Chiangmai was at ‘high’ level. The factors that resulted in achievement motivation, learning environment, and family relationship were at ‘high’ level but facing problem solution was at moderate level. However, all of mentioned factors were at ‘high’ level. The level of Pearson’s Correlation Efficiency between the factors; achievement motivation, facing problem solution, family relationship, and learning environment were positively related to the creative thinking of students from the Faculty of Engineering at Rajamangala University of Technology Lanna Chiangmai was statistically significant at the .05 level.   %U http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/371 %J วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร %0 Journal Article %P 241-254%V 7 %N 1 %@ 2408-199X %8 2019-07-02