%A เพชรแก้ว, พีรพัฒน์ %A เปลี่ยนบางยาง, ศิริวัฒน์ %D 2018 %T ความพร้อมในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย %K %X บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  2) ศึกษาความพร้อมในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในด้านต่างๆ  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง  และ เก็บแบบสอบถามจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ได้แก่  ผู้บริหาร บุคลากรสายนักวิชาการ/ผู้สอน และ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน               ผลการศึกษาจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามพบว่า  ความพร้อมในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งมีทั้งสิ้น  5  ด้านด้วยกัน  มีระดับความคิดเห็นของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยต่อด้านต่างๆ  อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ  ให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่งเสริมบุคลากรให้มีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ จัดประชุมชี้แจงบอกภาระงานในหน้าที่ที่ชัดเจน การบรรยาย ภาระงานในหน้าที่ (Job Description) หรือทำเอกสาร คู่มือ เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบ จัดอบรมสัมมนา นันทนาการให้กับบุคลากร เพื่อลดความเป็นอัตตาของตัวเอง จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมร่วมกัน  วางแผนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม มีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงานในหน่วยงานด้วยกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างทั่วถึง จัด KM DAY (วันแลกเปลี่ยนความรู้) เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีความเข้าใจในงานที่ทำ รวมถึง ความเข้าใจในงานของส่วนงานอื่นด้วย  รวมทั้งมีข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป  ควรศึกษาวิจัยเชิงพัฒนา (Research and development) เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตรวจสอบ และขั้นตอนการปรับปรุง ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ครบวงจร โดยเน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง Abstract This research aimed 1) to study factors related to the learning organization 2) Study the readiness to be learning organization of Mahamakut Buddhist University in various way. This research is a quantitative research. The researchers conducted a study of the relevant documents and collect questionnaires from university staff of Mahamakut Buddhist University including, executives, academics staff/teachers and supporting staff of the Mahamakut Buddhist University. The sample group consists of 210 persons. The tool used in the research was questionnaire. Statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation. The study collected data from the survey found that the readiness to be learning organization of Mahamakut Buddhist University which has 5 aspects, the level of the opinions of the staff of the Mahamakut Buddhist University on different aspects as the high level . In addition, researcher has suggested the practice to Mahamakut Buddhist University to encourage staff to have the desire to learn in order to maximize their potential consistently. Arrange meetings clarify the workload in clear functions, lectures, and workload in Job Description or paperwork, hand book in order to make awareness of training seminars, recreation to personnel to reduce the ego themselves. Arrange relationship group activities to exchange and do activities together, plan clearly together, concrete evidence. There was an exchange of circulation work in the agency to achieve the learning process thoroughly. The KM DAY (knowledge management) to make each unit understand the work, including the understanding in other divisions works. Also, the suggestions on the further research should study Research and development on the guideline learning organization development from the process of planning, operation, inspection and improving which are the comprehensive operations by focusing on the cooperation of all divisions related. %U http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/229 %J วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร %0 Journal Article %P 314-322%V 6 %N 1 %@ 2408-199X %8 2018-08-14