TY - JOUR AU - มูลสาร, พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย PY - 2018 TI - การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย JF - วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร; Vol 6 No 1 (2018): วารสารศึกษาศาสตร์ มมร ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561) KW - N2 -   บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จากการเรียนการสอนตามรายวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเจตคติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทยที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน   กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย จำนวน 40 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ นักศึกษามีเจตคติต่อการเรียนวิชาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทยก่อนเรียน สูงกว่าหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ ABSTRACT The results of this research were as followed : 1) to compare the achievement of Pali and Sanskrit languages ​​in Thai languages of 3rd year students Teaching Thai. From teaching courses on Pali and Sanskrit languages ​​in Thai languages by pretest and posttest, and 2) to compare the attitudes of students in 3rd year Teaching Thai towards teaching courses on Pali and Sanskrit languages ​​in Thai by pretest and posttest. The samples were the 3rd year students of first academic year 2560 in Teaching Thai, Faculty of Education, Mahamakut Buddhist University, was registration courses in Pali and Sanskrit languages ​​total 40 persons. The instrument used in the research plans include teaching courses on Pali and Sanskrit languages ​​in Thai, test achievement and attitude toward the study of Pali and Sanskrit languages ​​in Thai. The data were analyzed by percentage (%), average (Mean), standard deviation (S.D.) and t-test dependent (t-test). The research was found that:- Students who plan to study teaching courses on Pali and Sanskrit languages ​​in Thai. An achievement after learning Pali and Sanskrit languages ​​in Thai was higher level before study.Statistically significant at the .01 level. This is consistent with the assumptions of criterion. Students was attitude toward the study of Pali and Sanskrit languages ​​in Thai was in high level after posttest. Statistically significant at the .01 level. This is not consistent with the assumptions of criterion. UR - http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/211