หลักเกณฑ์และวิธีส่งต้นฉบับการเสนอบทความ เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร มมร ยศสุนทรปริทรรศน์
หลักเกณฑ์และวิธีส่งต้นฉบับการเสนอบทความ
เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร มมร ยศสุนทรปริทรรศน์
(Journal of MBU Yotsunthon Review)
--------------------------------------------------
- นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
1.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2.2 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ขึ้นไปต่อบทความและเป็นผู้มีผลงานทางวิจัยอย่างต่อเนื่อง
2.3 กองบรรณาธิการอาจส่งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนแก้ไข เพิ่มเติม หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี
2.4 กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์
2.5 การยอมรับเรื่องที่ตีพิมพ์เป็นสิทธิของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหา หรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง
- การเตรียมต้นฉบับ
2.1 ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษ A4 โดยกั้นหน้าด้านบนกับด้านซ้าย เท่ากัน 1.5 นิ้ว หรือ 3.8 เซนติเมตร ส่วนกั้นด้านขวาและด้านล่างเท่ากัน 1 นิ้ว หรือ 2.5 เซนติเมตร
2.2 รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun PSK พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ระยะระหว่างบรรทัดเป็นแบบบรรทัดเดี่ยว (Single Space) โดยใช้ขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่ง ดังนี้
1) ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ
2) ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ
3) ชื่อผู้เขียน เว้น 1 บรรทัด ขนาด 12 ชนิดตัวอักษรธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษขวาใต้ชื่อเรื่อง
4) ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา/ผู้วิจัยร่วม ขนาด 12 ชนิดตัวอักษรธรรมดา ชิดขอบกระดาษขวา ต่อจากชื่อผู้เขียน/ผู้วิจัยคนที่ 1 ตามลำดับ
5) หัวข้อใหญ่ในบทความ ขนาด 16 ชนิดตัวอักษรหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษซ้าย ก่อนขึ้นหัวข้อต่อไป เว้น 1 บรรทัด และจัดย่อหน้าเป็นแบบกระจายแบบไทย
6) หัวข้อย่อย เว้นระยะห่างตามลำดับของแท๊บหยุด ขนาด 16 ชนิดตัวอักษรหนา
7) รายการอ้างอิง เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA citation Styls
8) จำนวนหน้า ต้นฉบับควรมีความยาวไม่เกิน 8-15 หน้า
- การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับ
เนื้อหา ภาษาไทยที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรแปลเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด (ในกรณีคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ทับศัพท์ได้) และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน เนื้อหาต้องเรียงลำดับดังนี้
3.1 บทความวิจัย
1) ชื่อเรื่อง สั้น กะทัดรัดและชัดเจน ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
2) ชื่อผู้เขียน เป็นภาษาไทยและระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
3) บทคัดย่อ เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ABSTRACT) เขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง อ่านแล้วเข้าใจง่ายความยาวไม่ควรเกิน 350 คำ หรือ 15 บรรทัด โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อน บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ABSTRACT) ซึ่งแปลจากบทคัดย่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน ใช้อักษรตัวตรง จะใช้ตัวเอนเฉพาะคำศัพท์วิทยาศาสตร์
4) คำสำคัญ เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3-5 คำ โดยให้คำสำคัญภาษาอังกฤษตรงกับคำสำคัญภาษาไทย
5) บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมาและเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัยและควรอ้างอิงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
6) วัตถุประสงค์ ใช้ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
7) วิธีการดำเนินงานวิจัย ควรอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย โดยมีหัวข้อ ดังนี้
7.1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ให้กล่าวถึงกลุ่มประชากร วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ที่มาของกลุ่มตัวอย่าง แหล่งที่มาของข้อมูล
7.2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
7.3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
7.4) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
8) สรุปผล สรุปผลที่ได้จากการวิจัยเป็นลำดับอาจแสดงด้วยตารางกราฟ แผนภาพประกอบการอธิบาย ทั้งนี้ ถ้าแสดงด้วยตาราง ควรเป็นตารางแบบไม่มีเส้นขอบ ตารางด้านซ้ายและขวา หัวตารางแบบธรรมดาไม่มีสี ตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพ ขาวดำ ที่ชัดเจนและมีคำบรรยายใต้ภาพ กรณีที่จำเป็นอาจใช้ภาพสีได้
9) อภิปรายผล การอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ไม่อย่างไร และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม
10) ข้อเสนอแนะ
10.1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
10.2) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
10.3) ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป
11) ตาราง รูปภาพหรือแผนภูมิ ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นและต้องมีคำอธิบายสั้นๆ แต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน ในกรณีที่เป็นตารางคำอธิบายต้องอยู่ด้านบน ในกรณีที่เป็นรูปภาพหรือแผนภูมิ คำอธิบายต้องอยู่ด้านล่าง
12) รายการอ้างอิง เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA. citation Styls ให้เริ่มต้นด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยเอกสารภาษาต่างประเทศหากผู้เขียนมีมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อคนแรกแล้วตามด้วย “และคณะหรือ and others”
3.2 บทความวิชาการ
1) ชื่อเรื่อง ควรสั้น กะทัดรัด และชัดเจน ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
2) ชื่อผู้เขียน เป็นภาษาไทยและระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
3) บทคัดย่อ เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ABSTRACT) เขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง อ่านแล้วเข้าใจง่ายความยาวไม่ควรเกิน 350 คำ หรือ 15 บรรทัด โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อน บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ABSTRACT) ซึ่งแปลจากบทคัดย่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน ใช้อักษรตัวตรง จะใช้ตัวเอนเฉพาะคำศัพท์วิทยาศาสตร์
4) คำสำคัญ เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3 คำ โดยให้คำสำคัญภาษาอังกฤษตรงกับคำสำคัญภาษาไทย
5) เนื้อหา มีองค์ประกอบดังนี้
5.1) บทนำ ความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอ ก่อนเข้าสู่เนื้อหา
5.2) เนื้อความ ควรนำเสนอพัฒนาการของเรื่องได้อย่างน่าสนใจและเนื้อเรื่องมีเนื้อหาทันสมัยเหมาะสม และสอดลคล้องกับสภาพปัจจุบัน
5.3) บทสรุป ควรย่อเฉพาะข้อมูลในเนื้อความให้สั้น ได้เนื้อหาสาระของเนื้อความครบถ้วน
5.4) เอกสารอ้างอิง ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้เขียนบทความได้นำมาอ้างอิงในบทความวิชาการอ่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิง APA citation styls
3.3 บทวิจารณ์หนังสือ
1) ข้อมูลทางบรรณานุกรม/อ้างอิง
2) ชื่อผู้วิจารณ์
3) บทวิจารณ์
- ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง
หนังสือ
ชื่อ//นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์, เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
จรัสศรี รุ่งรัตนาอุบล. (2565). เทคนิคเหมืองข้อมูล. พิษณุโลก: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Norman, D, A. (2002). The design of everyday things. New York, NY: Basic books.
วารสาร
ชื่อ//นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่พิมพ์ (ฉบับที่), หน้า.
วิชัย พานิชย์สวย, สุมน ไวยบุญญา, พัชรพร ศุภกิจ, และรัตนากร หลวงแก้ว. (2562). ผลของการใช้บทเรียน PISA ที่มีต่อความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารการวิจัยพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(3), 133-160.
Rinke, C. R. (2011). Career trajectories of urban teachers: A continuum of perspectives, participation, and plans shaping retention in the educational system. Urban Education, 46(4), 639-662.
หนังสือแปล
ชื่อผู้แต่งต้นฉบับ. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่องที่แปล [ชื่อต้นฉบับ] (ชื่อผู้แปล, แปล). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. หรือ พ.ศ.)
แบรี่ สมาร์. (2555). มิเชล ฟูโกต์ [Michel Foucault] (จามะรี เชียงทอง และสุนทร สราญจิต, แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1994).
E-book
ผู้แต่ง 1. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์. จาก หรือ from http://www.xxxxxxx
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2562). พฤติกรรมสุขภาพ : แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นจาก https://www.ookbee.com
Haslam, S. (2003). Research Methods and Statistics in Psychology (SAGE Foundations of Psychology series). [Kindle DX version]. Retrieved from http://www.amazon.com
วิทยานิพนธ์
ชื่อ//นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. สถานที่พิมพ์: ชื่อสถาบันศึกษา.
วันชนะ จูบรรจง. (2560). ระบบสนับสนุนการประมาณการสัมผัสแคดเมียมผ่านการบริโภคอาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร
Darling, C. W. (1976). Giver of due regard: The poetry of Richard Wilbur. Unpublished doctoral dissertation, University of Connecticut, USA.
รายงานการวิจัย
ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.
พินิจทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รายงานการประชุม
ชื่อ//นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเอกสารรวมเรื่องที่ได้จากรายงานการประชุม. วันเดือนปีที่จัด. สถานที่จัด. สำนักพิมพ์. หน้า.
กรมวิชาการ. (2538). การประชุมปฏิบัติการรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน. 25-29 พฤศจิกายน 2528 ณ วิทยาลัยครูมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. 7-8.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality.
In R. Densifier (Ed.), Nebraska Symposium on Motivation: Vol.38. Perspectives on
Motivation. Lincoln: University of Nebraska Press. 237-288.
สื่ออินเตอร์เน็ต/ Website
ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง. (ปี เดือน วันที่เผยแพร่สารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความ. วันที่สืบค้น : URL:http://
สรญา แสงเย็นพันธ์. (2566). 10 เว็บไซต์จับคู่สี ออกแบบงานได้สวยทันตา. สืบค้น 5 มกราคม 2566,
จาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th/จับคู่สี/
Wollman, N. (1999). Influencing attitudes and behaviors for social change. Retrieved
fromhttp://www.radpsynet.org/docs/wollman-attitude.html.
การสัมภาษณ์
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์./(ปีสัมภาษณ์,/เดือน/วันที่)./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./สัมภาษณ์.
กตัญญู แก้วหานาม. (2565, มีนาคม 21). ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.
ราชกิจจานุเบกษา
ชื่อประกาศ. (วัน เดือน ปี ที่ประกาศ). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ xxx ตอนที่ xx, หน้า x-xx.
กฎกระทรวง กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563. (12 พฤศจิกายน 2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 94 ก, หน้า 7-11.