@article{MBUPJ, author = {นฤมล ถินทอง}, title = { การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว}, journal = {วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online)}, volume = {2}, number = {2}, year = {2023}, keywords = {}, abstract = {การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้ได้รับสิทธิในการดำรงชีวิตเป็นสิทธิพื้นฐานที่จะต้องได้รับการคุ้มครองในเรือนจำ ในปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการดำรงชีวิตของผู้ต้องขังหญิงกลับพบว่าปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการดำรงชีวิตพื้นฐานทำให้ผู้ต้องขังหญิงส่วนใหญ่ ได้รับบริการสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงไม่เพียงพอ แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะมีการใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการดำรงชีวิตของผู้ต้องขังหญิง แต่ยังพบว่าสิทธิดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดจนและเหมาะสม แนวทางในการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจากทัณฑสถานหญิง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับบทบาทของกรมราชทัณฑ์ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวตลอดจนปัญหาและข้อจำกัดเกี่ยวกับบทบาทในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวของกรมราชทัณฑ์ซึ่งควรหาแนวทางการปฏิบัติที่สามารถยกระดับการดูแลผู้ต้องขังหญิงในกลุ่มนี้ได้อย่างยุติธรรมและเหมาะสมยิ่งขึ้นในอนาคต จากบทบาทในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวดังกล่าวพบว่าในทางปฏิบัติกรมราชทัณฑ์ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากภายในกรมราชทัณฑ์และสภาพแวดล้อมภายนอก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำประกอบกับสภาพสังคมปัจจุบันยังคงมีความเชื่อในเรื่องของชายเป็นใหญ่ ในขณะที่คนในสังคมไม่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จึงมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการกระทำผิดในผู้หญิงมากขึ้น Treating inmates with the right to life is a fundamental right to be protected in prison. At present, the right to life of female prisoners is a problem. Instead, it was found that the problem of basic living rights caused most of the female inmates to receive basic welfare services that were necessary for them. not enough girls Although Thailand currently has the Prison Act B.E. But it was also found that such rights were not clearly defined and appropriate. The Department of Corrections' Practice Guidelines for Female Inmates Who Have Been Victims of Domestic Violence which uses a qualitative research model by in-depth interview. From two groups of key informants: academics, experts in criminology and penology. Director and operational level staff from the women's correctional institution. The purpose of this study is to present the current situation on the role of the Department of Corrections in treating female inmates who have been victims of domestic violence. as well as problems and limitations related to the role of the Department of Corrections in carrying out such matters. which should find practical guidelines that can elevate the level of fair care for women inmates in this group and more suitable in the future. From the role in the treatment of female inmates who have been victims of domestic violence. It was found that in practice, the Department of Corrections had to face problems and obstacles arising from within the Department of Corrections and the external environment. Due to the economic downturn and current social conditions, there is still a belief in patriarchy. While people in society do not pay attention to solving the problem of domestic violence. therefore, contributes to the incidence of more offenses among women.}, issn = {2774-1001}, pages = {94--104}, url = {http://ojs.mbu.ac.th/index.php/MBUPJ/article/view/2227} }